บทโอวาทปาติโมกข์ พร้อมด้วยความหมาย

06/03/2023 เลขเด็ด/ความเชื่อ/ทำนายฝัน
บทโอวาทปาติโมกข์

บทโอวาทปาติโมกข์ คือบทคำสอนที่ พระพุทธเจ้าได้ทำการแสดงโอวาทต่อหน้าสาวกทั้งหมด 1,250 รูป โดยเป็นการมาประชุมรวมกันโดยไม่ได้นัดหมาย ซึ่งถูกเรียกว่า วันมาฆบูชา นั่นเอง โดยในบทนี้นั้นจะมีอะไรบ้าง เว็บเศษฐีคลับ ก็หยิบมาฝากพร้อมด้วยคำแปล ไปดูกันเลย

ที่มาของ บทโอวาทปาติโมกข์

โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เป็นการประกาศแนวทางการปฏิบัติของศาสนาให้แก่เหล่าสาวกได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

บทโอวาทปาติโมกข์

บทโอวาทปาติโมกข์

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง, การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา, การทำกุศลให้ถึงพร้อม,

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง, การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา, ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา, ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี, ผู้กำจัดสัตว์อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต, ผู้ทำลายสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต, การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย,

ปาติโมกเข จะ สังวะโร, การสำรวมในปาติโมกข์,

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง, ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง, การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด,

อะธิจิตเต จะ อาโยโค, ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,

เอตัง พุทธานะสาสะนัง, ธรรม ๖ อย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,

คำแปลของโอวาทปาฎิโมกข์

บทโอวาทปาติโมกข์

พระพุทธพจน์คาถาแรก

ทรงกล่าวถึง “หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ” หรือ หลักการ 3 กล่าวกันว่าเป็นการสรุปรวบยอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเป็นแนวทางที่พุทธบริษัทพึงปฏิบัติ ได้แก่

  1. การไม่ทำบาปทั้งปวง(ศีลคือการรักษากาย วาจา ใจให้เรียบร้อย, หิริโอตัปปะ คือ การละบาปละอายต่อบาปทั้งปวงด้วยการเอาสติกำกับทุกอิริยาบถคิด พูด ทำ อย่าให้ผิดต่อศีลและธรรม) ธรรมบทนี้จะทำให้ใจสบายไม่เศร้าหมอง ใจเป็นปรกติ
  2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม(การทำความฉลาดให้ถึงพร้อม) ธรรมบทนี้จะทำให้จิตสงบสบายผ่องใส
  3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์(เจริญสติด้วยการภาวนา,พอจิตเป็นสมาธิแล้วก็ถอยออกมาเดินมรรคด้วยปัญญา) ธรรมบทนี้จะทำให้จิตรู้ จิต จิตฉลาดในการแก้ปัญหา และจิตจะผ่องใสจากการเห็นทุกข์และปล่อยวางจากสิ่งที่พิจารณาในธรรมต่างๆ เห็นตามความเป็นจริงและไม่ยึดมั่นถือมั่น

ทั้งหมดต้องปฏิบัติไปพร้อมกัน(หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน) ศีลที่แท้จริงจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีอภัยทาน(ให้ความไม่เป็นภัยเป็นทาน) อภัยทานที่แท้จริงจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีปัญญาที่แท้จริง ปัญญาที่แท้จริงจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีศีลที่แท้จริง ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งที่เกี่ยวข้องก็เกิดขึ้นไม่ได้ การที่บุคคลจะพ้นทุกข์ไปได้ ต้องอาศัย ศีลเป็นเครื่องกั้นความเศร้าหมองอย่างหยาบ สมาธิเป็นเครื่องสกัดกั้นกิเลสอย่างกลาง ปัญญาคือเครื่องประหารกิเลสอย่างละเอียด ซึ่งศีล สมาธิ ปัญญา ขึ้นอยู่กับสติเป็นสำคัญถ้าขาดสติกำกับแล้วทุกอย่างก็ล้มเหลว ดังนั้นบุคคลควรมีสติทุกเมื่อ พึงละเว้นจากความเศร้าหมองที่เกิดจากกิเลสที่จะเข้ามาแทรกใจ และพึงฝึกเจริญสมาธิให้ตั้งมั่นแล้วค่อยพิจารณาธรรมในแต่ละขั้นของภูมิจิตตัวเองแล้ว จะรู้เองเห็นเองโดยไม่ต้องสงสัย ตามสวากขาตะธรรม คือ ตรัสไว้ชอบแล้ว

พระพุทธพจน์คาถาที่สอง

ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์อันสูงสุดของพระภิกษุและบรรพชิตในพระพุทธศาสนานี้ อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น อันอาจเรียกได้ว่า อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา ได้แก่

  1. ความอดทนอดกลั้นเป็นสิ่งที่นักบวชในศาสนานี้พึงยึดถือและเป็นสิ่งที่ต้องใช้เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจทุกอย่างที่ต้องเจอในชีวิตนักบวช เช่น ประสงค์ร้อนได้เย็น ประสงค์เย็นได้ร้อน
  2. การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน
  3. พระภิกษุและบรรพชิตในพระธรรมวินัยนี้(เช่นภิกษุณี สามเณร สามเณรี สิกขมานา)ไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการเบียดเบียนทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ว่าจะในกรณีใดๆ
  4. พึงเป็นผู้มีจิตใจสงบจากอกุศลวิตกทั้งหลายมีความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

พระพุทธพจน์คาถาที่สาม

หมายถึงวิธีการที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ พระภิกษุที่ออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งมีเป็นจำนวนมากให้ใช้วิธีการเหมือนกันเพื่อจะได้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่ วิธีการทั้ง 6 ดังต่อไปนี้

  1. การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
  2. การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
  3. ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
  4. ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
  5. นั่งนอนในที่อันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
  6. ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจให้ยิ่งด้วยสมถะและวิปัสสนาเสมอ มิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)

และทั้งหมดนี้ก็คือ บทโอวาทปาติโมกข์ พร้อมด้วยความหมาย ที่ทาง เว็บเศรษฐีคลับ นั้นได้นำมาฝากให้กับเหล่าคนในศาสนาพุทธได้อ่านกันอย่างครบถ้วน เพราะสำหรับชาวพุทธแล้ว มาฆบูชา ก็คืออีกวันที่สำคัญในพุทธศาสนาที่เราควรจะรู้ทั้งประวัติและใจความสำคัญนั่นเอง

เว็บเศรษฐีคลับ เว็บสำหรับการแทงหวยออนไลน์ ที่ขนหวยมาให้แทงกันอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น หวยรัฐบาลไทย, หวยลาว, หวยฮานอย , หวยมาเลย์, หวยหุ้น, หวยออมสิน, หวยชุด รวมไปถึงคาสิโน, เล่นไฮโล, พีจีสล็อต, สล็อต ก็มีให้เลือกมากมาย รวมทั้งยังมีผลตอบแทนที่สูง สมัครง่าย ๆ แค่คลิกด้านล่าง

บทความที่น่าสนใจ